ลำดับ 1. สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช
เผยแพร่เมื่อ 18-04-2020 ผู้ชม 60,237 Share
- ข้อมูลทั่วไปจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
เรียกโดยย่อว่า สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2522 โดยรวมทรัพย์สินและบุคลากรจากโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 20 ห้องสมุดประชาชน โรงเรียนอาชีวะประจำที่และงานโสตฯ เข้าด้วยกัน โดยมีที่ทำการชั่วคราว ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ต่อมากรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณ (เงินกู้) จำนวน 12,6 ล้านบาท ให้ดำเนินการก่อสร้างที่ทำการ ณ ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื้อที่จำนวน 82 ไร่ และเปิดทำการเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2525
ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกโดยย่อว่า สำนักงาน กศน,จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ตั้งอยู่เลขที่ 165 หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.1 สภาพทั่วไปทางกายภาพ
1) ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942.502 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,214,064 ไร่ มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณร้อยละ 1.98 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของตัวจังหวัดตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือ และลองติจูด 100 องศาตะวันออก
2) ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราชแตกต่างไปตามลักษณะของเทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทร
ส่งผลให้ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
2.1) บริเวณเทือกเขาตอนกลาง
ได้แก่บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของจังหวัดลงไปถึงตอนใต้สุด บริเวณพื้นที่ของอำเภอที่อยู่ในเขตเทือกเขาตอนกลาง ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สิชล ขนอม ท่าศาลา ลานสกา พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์ ชะอวด จุฬาภรณ์ และพระพรหม ในเขตเทือกเขานี้มีภูเขาสูงสุดในจังหวัดคือเขาหลวง ซึ่งสูงประมาณ 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
2.2) บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก
ได้แก่บริเวณตั้งแต่เทือกเขาตอนกลางไปทางตะวันออกถึงฝั่งทะเลอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ตอน คือตั้งแต่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชลงไปทางใต้ เป็นที่ราบมีความกว้างจากบริเวณเทือกเขาตอนกลางไปถึงชายฝั่งทะเลระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร มีแม่น้ำลำคลองที่มีต้นน้ำเกิดจากบริเวณเทือกเขาตอนกลางไหลลงสู่อ่าวไทย เป็นที่ราบซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัด อีกบริเวณหนึ่งคือตั้งแต่อำเภอท่าศาลาขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นบริเวณชายฝั่งแคบ ๆ ไม่เกิน 15 กิโลเมตร อำเภอที่อยู่ในเขตที่ราบด้านนี้คือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล ท่าศาลา ปากพนัง เชียรใหญ่ หัวไทร และชะอวด
2.3) บริเวณที่ราบด้านตะวันตก
ได้แก่บริเวณที่ราบระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราชและเทือกเขาบรรทัด จึงมีลักษณะเป็นเนินเขาอยู่เป็นแห่ง ๆ อำเภอที่อยู่บริเวณที่ราบด้านนี้ คือ อำเภอพิปูน ทุ่งใหญ่ ฉวาง นาบอน บางขัน ทุ่งสง และถ้ำพรรณรา
1.2 ด้านการบริหารจัดการ
1) ประชากร
จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรจำนวน 1,560,433 คน (ธันวาคม 2561) แยกเป็นชายจำนวน 771,530 คน หญิงจำนวน 788,903 คน อำเภอที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จำนวน 272,502 คน 108,767 ครัวเรือน และอำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอถ้ำพรรณรา จำนวน 19,277 คน 7,234 ครัวเรือน
2) ข้อมูลเขตการปกครองและพื้นที่
จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเขตการปกครองตามลักษณะพื้นที่ออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,551 หมู่บ้าน แยกได้ดังนี้
1.3 การจัดการด้านการศึกษา การกีฬา ศาสนาและวัฒนธรรม
1) ด้านการศึกษา
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งทางภาคใต้ มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา ต่อมาการจัดการศึกษาตาม พ,ร,บ,การศึกษาแห่งชาติ พ,ศ,2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ,ศ,2544 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาออกเป็น 4 เขตพื้นที่ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 1 เขต มีสถานศึกษาทั้งหมด 986 แห่ง ดังนี้
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1 ประกอบด้วย
อำเภอเมือง (ที่ตั้งเขต) ลานสกา พระพรหม เฉลิมพระเกียรติ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2 ประกอบด้วย
อำเภอทุ่งสง (ที่ตั้งเขต) ทุ่งใหญ่ บางขัน นาบอน ฉวาง ถ้ำพรรณรา พิปูน ช้างกลาง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย
อำเภอเชียรใหญ่ (ที่ตั้งเขต) ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ หัวไทร ชะอวด จุฬาภรณ์
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 ประกอบด้วย
อำเภอท่าศาลา (ที่ตั้งเขต) สิชล ขนอม พรหมคีรี นบพิตำ
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ประกอบด้วย
จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน 9 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ อำเภอทุ่งสง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งใหญ่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอขนอม มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัย
มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนชื่อ ตาม พ,ร,บ,ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ,ศ,2551 เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช(สำนักงาน กศน,จังหวัดนครศรีธรรมราช) Nakhonsithammarat Provincial office of the Non-Formal and Informal Education มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 4 มีนาคม 2551
2) ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
ปี 2559 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัด 619 แห่ง (มหานิกาย 538 แห่ง ธรรมยุต 81 แห่ง)ที่พักสงฆ์ 122 แห่ง มัสยิด 122 แห่ง โบสถ์คริสต์ 38 แห่ง มีวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง โรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญ 7 แห่ง ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด 101 แห่ง ศูนย์ปฏิบัติการพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 12 แห่ง มี พระภิกษุรวม 3,529 รูป สามเณร 848 รูป เป็นจังหวัดศูนย์กลางพุทธศาสนาของภาคใต้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมมหาธาตุอันเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ มีขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ งานสารทเดือนสิบ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีชักพระหรือลากพระ ประเพณีอาบน้ำคนแก่ ประเพณีสวดด้าน ประเพณีแห่นางดาน เทศกาลมหาสงกรานต์ ประเพณีกวนข้าวยาคู ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ประเพณีให้ทานไฟ เป็นต้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ยั่งยืนสืบไป ด้วยการจัดงานประเพณีประจำจังหวัดและสนับสนุนประเพณีท้องถิ่นแต่ละอำเภออย่างต่อเนื่องทุกปี
1.4 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
จังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศได้โดยสะดวก
ทางบก
มีเส้นทางรถยนต์ติดต่อกับกรุงเทพฯและจังหวัดต่าง ๆ ได้หลายเส้นทาง นอกจากนั้นยังมีรถไฟสายใต้ ทุกขบวนผ่านชุมทางทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
และมีทางรถไฟแยกจากชุมทางเขาชุมทองไปยังตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทางรถยนต์
ทางหลวงแผ่นดินภายในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางหลวงแผ่นดินที่ถือเป็นสายหลัก 1 สาย คือ ทางหลวงหมายเลข 41 เริ่มต้นจากอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทางหลวงแผ่นดินที่ถือเป็นสายรอง 3 สาย คือ ทางหลวงหมายเลข 401,403 และ 408
การคมนาคมภายในตัวจังหวัด มีรถสองแถววิ่งบริการรอบเมือง สำหรับการเดินทางไปสู่จังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งรถตู้ รถแท็กซี่ รถโดยสาร นอกจากนั้นยังมีรถทัวร์โดยสารประจำทาง คือ บริษัทขนส่ง จำกัด
ทางน้ำ
ในอดีตจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยอาศัยทางน้ำเป็นหลัก มีการสัญจรทางน้ำเพื่อประกอบอาชีพประมง การพาณิชย์และการขนถ่ายสินค้าต่างประเทศ บริเวณปากแม่น้ำ เช่น ปากพนัง สิชล ท่าศาลา โดยเฉพาะในแม่น้ำปากพนังเคยเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน ยังมีเรือยนต์และเรือเดินสมุทรรับส่งสินค้าอยู่ เช่น เรือบรรทุกน้ำมันส่งคลังน้ำมัน 123bet นอกจากนี้ยังมีท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช ที่อำเภอปากพนัง ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงขนาดใหญ่ ท่าเทียบเรือประมงขนอม และท่าเรือของเอกชน ที่ให้บริการนักท่องเที่ยวในด้านการท่องเที่ยว
ทางอากาศ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ก่อสร้างสนามบินพาณิชย์ตามมาตรฐานสากล โดยกรมการบินพาณิชย์ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง จำนวน 1,043 ล้านบาท ในเนื้อที่ประมาณ 1,790 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร มีเที่ยวบินบริการทุกวัน โดยสายการบินนกแอร์ สายการบินแอร์เอเชีย และสายการบินไลอ้อนแอร์
1.5 สถานการณ์ด้านแรงงาน
ในปี 2559 จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,217,392 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 870,211 คน แยกเป็นผู้มีงานทำ 865,477 คน
คิดเป็นร้อยละ 99.46 ของกำลังแรงงาน และผู้ว่างงาน 4,735 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 มีแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ รวม 24,193 คน โดยเป็นแรงงานเมียนม่ามากที่สุด รองลงมาเป็นแรงงานกัมพูชา และแรงงานชาวลาว
2. สภาพ/บริบทของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยงานสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2522 โดยรวมทรัพย์สินและบุคลากรจากโรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 20 ห้องสมุดประชาชน โรงเรียนอาชีวะประจำที่และงานโสตฯ เข้าด้วยกัน โดยมีที่ทำการชั่วคราว ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ต่อมากรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณ (เงินกู้) จำนวน 12,6 ล้านบาท ให้ดำเนินการก่อสร้างที่ทำการ ณ ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื้อที่จำนวน 82 ไร่ และเปิดทำการเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2525
ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกโดยย่อว่า สำนักงาน กศน,จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ตั้งอยู่เลขที่ 165 หมู่ที่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
การบริหารจัดการ
สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช บริหารงานตามบริบทของพื้นที่ คือ ป่า เขา นา เล
โดยแบ่งการบริหารจัดการ ออกเป็น 5 กลุ่มโซน คือ
- โซนจตุรมิตร ประกอบด้วย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม อำเภอลานสกา และอำเภอร่อนพิบูลย์
- โซนภูผา@วาริน ประกอบด้วย อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งสง อำเภอบางขัน อำเภอจุฬาภรณ์
- โซนคีรีวาริน ประกอบด้วย อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอพรหมคีรี อำเภอนบพิตำ และอำเภอขนอม
- โซนต้นนที ประกอบด้วย อำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน และอำเภอถ้ำพรรณรา
- โซนลุ่มน้ำปากพนัง ประกอบด้วย อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสถานศึกษาในสังกัดและกำกับ รวมทั้งแหล่งเรียนรู้
ในชุมชน ดังนี้
- กศน.อำเภอ 23 แห่ง เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
- กศน.ตำบล 169 แห่ง เป็นฐานจัดการเรียนรู้
- ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี 2 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัด 1 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 22 แห่ง
- บ้านหนังสือชุมชน 214 แห่ง
- โรงเรียนผู้ใหญ่เป็นสถานศึกษาในกำกับ 2 แห่ง ร่วมจัดการเรียนรู้
โดยมีบุคลากรในสังกัด 417 คน มีนักศึกษา 15,531 คน
จำนวนบุคลากร
จำนวนบุคลากรของสำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช (ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2563) รายละเอียด ดังนี้
ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงาน
1) จำนวนบุคลากร จำนวนทั้งสิ้น 449 คน
จำนวนสถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัด จำนวนทั้งสิ้น 603 แห่ง
ขนาดหน่วยงานและสถานศึกษา
สำนักงาน ก.ค.ศ. กำหนดขนาดของสำนักงาน กศน.จังหวัด และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งเป็นขนาดใหญ่พิเศษ 8 สถานศึกษา ขนาดใหญ่ 7 สถานศึกษา
ขนาดกลาง 6 สถานศึกษา และขนาดเล็ก 2 สถานศึกษา
1 รายการ : 1 หน้า